วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 11

Friday 26 October 2018
time 08.30 - 12.30 o'clock


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปยินดีต้อนรับ

The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์เปิดคลิปที่เพื่อนๆนำเสนอเรื่องการทดลองของเเต่ละคน

คนเเรก นางสาว ปรางทอง สุริวงษ์

ทำการทดลองเรื่อง การเปิดปิด สวิตซ์ 
ปัญหาคือ อะไรที่ทำให้ไฟติดบ้าง

การทดลองคือ นำถ่านไฟฉายมาต่อกับสายไฟปากหนีบจระเข้เเละนำหลอดไฟไปหนีบกับสายไฟปากหนีบปากจระเข้อีกข้างนึงพอเอาสายไฟปากจระเข้ที่เหลือมาหนีบเข้าหากันทำให้เกิดไฟติด

สรุปผลการทดลอง

 ถ้าเรานำโลหะหรือตัวนำไฟไฟ้ามาต่อเข้ากับสายไฟฟากหนีบจระเข้จะทำให้ไฟติด


คนที่สอง นางสาวบงกชกมล  ยังโยมร 

ทดลองเรื่อง เมล็ดพืชเต้นระบำ
ปัญหาคือ ทำไมเมล็ดพืชถึงลอยได้

การทดลองคือ นำถั่วเขียวมาใส่ในกระป๋องพลาสติกทั้ง 2 ใบ เเละนำน้ำโซดากับน้ำเปล่า ใส่ลงอย่างละ1กระป๋อง จะสังเกตเห็นว่ากระป๋องที่มีโซดาทำให้เมล็ดพืชลอยขึ้นเหนือน้ำ


สรุปผลการทดลอง
การที่เมล็ดพืชลอยขึ้นคือการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ถึงทำให้เมล็ดพืชลอยขึ้นได้เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์มีน้ำหนักเบากว่าน้ำ

  

บรรยากาศการเรียน


skills ทักษะ

ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องของก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

นำไปจดบันทึกลงสมุดเอาไว้ใช้สอนเด็ก

Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

ฟังเเละคิดตามวิดีโอที่ได้ดู

Assesment ประเมิน

our self ตัวเอง :ตั้งใจเรียนและดูคลิป
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน
Teacher อาจารย์ : อธิบายในขั้นตอนที่ขาดหายจากคลิป


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณ

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 10

Friday 19 October 2018
time 08.30 - 12.30 o'clock


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปยินดีต้อนรับ

The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้เลือกการทดลองของเพื่อนออกมา 1เรื่องเเละนำมาจัดเป็นโครงการเพื่อนำไปให้น้องๆเล่นเป็นฐาน 

ชื่อฐาน ปริศนา ซี โอ ทู
วัตถุประสงค์
  1. เด็กบอกได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจากอะไร
  2. เด็กบอกได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีประโยชน์และโทษอย่างไร
กิจกรรม
1.      สิ่งของเหล่านี้เด็กๆคิดว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?
ประเด็นที่อยากรู้
            2.สิ่งของที่วางอยู่บนโต๊ะถ้าเอาน้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือมันจะเกิดปฏิกิริยาอะไรบ้าง
สมมติฐาน
 (คำถามเพื่อให้เด็กตั้งสมมติฐาน) ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดอะไรขึ้น?
(นี่คือสมมติฐานเป็นสิ่งที่เด็กตอบ) 3.ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดการละลาย
ทดลอง
4. ครูให้เด็กตักเบกกิงโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือแต่ละชนิด ครั้งละ  2 ช้อนใส่ในแก้วพลาสติกใบที่ 1 ,2,3,4 ตามลำดับ
 5. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 1 ที่มี เบกกิงโซดา และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
            6. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 2 ที่มี น้ำตาลทราย และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
            7. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 3 ที่มี ผงฟู และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
            8. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 4 ที่มีเกลือ และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
อภิปรายข้อมูล
ผลจากการสังเกต
9. แก้วใบที่ 1 และใบที่ 3 มีการละลายและเกิดฟอง
10. แก้วใบที่ 2 และใบที่ 4 มีการละลายอย่างเดียว
ตรวจสอบกับสมมติฐาน
11. ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดการละลาย
สรุปผลการทดลอง
น้ำมะนาวละลายสารทั้ง 4 ชนิดเป็นไปตามสมมติฐาน และเกิดข้อค้นพบว่าแก้วใบที่ 1 และใบที่ 3 มีการเกิดฟอง เพราะน้ำมะนาวเป็นกรดทำปฏิกิริยากับเบกกิงโซดาและผงฟูทำให้เกิดฟองอากาศ ซึ่งอากาศนั้นคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

วิธีการประเมิน
-          สังเกตจากพฤติกรรมขณะร่วมปฏิบัติการทดลอง
-          การสนทนาซักถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของน้ำมะนาวและสารทั้ง 4 ชนิด
-           
สื่อ /  อุปกรณ์
1.เบกกิงโซดา
2.น้ำตาลทราย
3.ผงฟู
4.เกลือ
5.น้ำมะนาว
6.แก้วน้ำพลาสติก
7.ช้อน
8.น้ำอัดลม

9.เนื้อหมู
  
skills ทักษะ





ได้รู้วิธีการสอนให้น้องทดลองทางวิทยาศาสตร์





Apply การนำไปประยุกต์ใช้





เอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กๆเรื่องก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้





Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน





อาจารย์ให้ใช้การฟังเเละการคิด



Assesment ประเมิน










our self ตัวเอง :ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย





Friend เพื่อน : เพื่อนๆทำงานกลุ่มอย่างตั้งใจ





Teacher อาจารย์ : อธิบายในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจให้เข้าใจ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณ

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561


สรุปวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในภาพรวมและจําแนกรายด้าน คือ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า และเพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีการคิดวิจารณญาณ ดังนี้
1. ระดับการคิดวิจารณญาณ ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในภาพรวมมีการคิดวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.73และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้เหตุผลอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ8.20 ส่วนด้านการวิเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 การสังเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ8.00 และการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
2. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยในภาพรวม หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์พบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.93คะแนน สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยมีการวิเคราะห์สูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 การใช้เหตุผลสูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.93 การสังเคราะห์สูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 และการประเมินค่าสูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.60 ทุกด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

จากผลการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้นทั้งนี้สามารถอภิปรายได้ดังนี้
    1. การที่เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กได้สํารวจวัสดุอุปกรณ์ จําแนก บอกรายละเอียด ความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์ ตามลักษณะและคุณสมบัติ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะเน้นการปฏิบัติทดลอง รูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการจัดประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เด็กมีโอกาสได้ฟัง สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติทําให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียน

   2. ระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยแยกเป็นรายด้านพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองโดยมีระดับการคิดวิจารณญาณสูงขึ้นทุกด้าน คือ
    2.1 ด้านการวิเคราะห์ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ4.00 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 แสดงว่าในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการวิเคราะห์ได้ ลักษณะของกิจกรรมจะส่งเสริมให้เด็กจําแนกความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในกิจกรรม ฝึกการเปรียบเทียบลักษณะ รูปร่าง คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ
2.2 ด้านการใช้เหตุผล ก่อนการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ6.27 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.20 แสดงว่าในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการใช้เหตุผลได้ ลักษณะของกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
 2.3 ด้านการสังเคราะห์ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.80 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.00 แสดงว่าในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการสังเคราะห์ได้ ลักษณะของกิจกรรมเด็กจะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ การเปลี่ยนแปลงระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และผลที่ได้จากการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2.4 ด้านการประเมินค่า ก่อนการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.73 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 แสดงว่าในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการประเมินค่าได้ ลักษณะของกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่เด็กได้คิดและตัดสินใจโดยเด็กจะสังเกตผลการทดลอง แล้วสรุปผลการทดลองที่ได้ตามความเข้าใจของตนเอง

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 9

Friday   12  October 2018
time 08.30 - 12.30 o'clock


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้อาจาารย์ให้เพื่อนออกมาทำการทดลองของเเต่ละคน

เพื่อนคนเเรก นางสาวณัฐธิดา  ธรรมเเท้ ทำการทดลองเรื่อง  น้ำแดงมะนาวโซดาเเสนอร่อย โดยการนำเบกกิงโซดา ผงฟู น้ำตาล ใส่ลงไปในแก้ว 3ใบ และนำน้ำมะนาวเทลงไปในแก้วเเละสังเกตการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นนำน้ำแดงเทลงในแก้วที่มีเบกกิงโซดาทำให้เกิดฟองฟู่เเละทำให้สามารถกินน้ำแดงได้



เพื่อนคนที่ 2 นางสาว ปวีณา  พันธ์กุล ทำการทดลองเรื่อง การเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์
โดยการนำ ผงฟู เบกกิงโซดา เกลือ น้ำตาล ใส่ลงในแก้ใทั้ง 4 ใบเเละนำน้ำมะนาวมาหยดลงไปสังเกตดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับแก้วเเต่ละใบ


skills ทักษะ



ได้รู้ถึงการสังเกตและการทดลองของก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์



Apply การนำไปประยุกต์ใช้



เอาความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน



Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน



อาจารย์สอนแบบอธิบายเเละถามตอบและเเนะนำวิธีการพูดกับเด็ก

Assesment ประเมิน








our self ตัวเอง : ตั้งใจมีส่วนร่วมในห้องเรียน




Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือดีในการทำการทดลอง




Teacher อาจารย์ : สอนการพูดขั้นตอนของการทดลอง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปบทความ

ที่โรงเรียน บ้านดอนศรีเสริมกสิกร จังหวัดน่าน ได้จัดงานเทศกาลวันบ้านวิทยาศาสตร์น้อย สนุกกับบ้านวิทยาศาสตร์น้อย 2561 ให้เด็กได้เรียนรู้เข้าใจในหลักการวิทยาศาสตร์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตามโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยภายในงานได้นำผลงานของนักเรียนที่ได้รับรางวัลมาจัดแสดง เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับหลายโรงเรียนที่เข้าร่วมงาน ซึ่งในปีนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 และเขต 2 ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้จัดกิจกรรม เทศกาลวันบ้านวิทยาศาสตร์น้อย สนุกกับบ้านวิทยาศาสตร์น้อย มุ่งเน้นในเด็กนักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจในหลักการทางวิทยาศาสตร์ และนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ โดยหลักการส่วนใหญ่เป็นหลักการที่ใกล้ตัว เข้าใจง่าย ทำให้เรียนรู้ได้เร็วง่ายต่อการทำความเข้าใจ
สำหรับโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ.2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทยบัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย industrial shots. ในพื้นที่ต่างๆ ด้วย

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Recorded Diary 8

Friday  5  October 2018
time 08.30 - 12.30 o'clock


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากไม่สบายจึงขอลาป่วยค่ะ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Recorded Diary 15 Friday 23  November 2018 time 08.30 - 12.30 o'clock The knowled...