วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561


สรุปวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในภาพรวมและจําแนกรายด้าน คือ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า และเพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีการคิดวิจารณญาณ ดังนี้
1. ระดับการคิดวิจารณญาณ ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในภาพรวมมีการคิดวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.73และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้เหตุผลอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ8.20 ส่วนด้านการวิเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 การสังเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ8.00 และการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
2. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยในภาพรวม หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์พบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.93คะแนน สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยมีการวิเคราะห์สูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 การใช้เหตุผลสูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.93 การสังเคราะห์สูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 และการประเมินค่าสูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.60 ทุกด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

จากผลการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้นทั้งนี้สามารถอภิปรายได้ดังนี้
    1. การที่เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กได้สํารวจวัสดุอุปกรณ์ จําแนก บอกรายละเอียด ความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์ ตามลักษณะและคุณสมบัติ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะเน้นการปฏิบัติทดลอง รูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการจัดประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เด็กมีโอกาสได้ฟัง สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติทําให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียน

   2. ระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยแยกเป็นรายด้านพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองโดยมีระดับการคิดวิจารณญาณสูงขึ้นทุกด้าน คือ
    2.1 ด้านการวิเคราะห์ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ4.00 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 แสดงว่าในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการวิเคราะห์ได้ ลักษณะของกิจกรรมจะส่งเสริมให้เด็กจําแนกความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในกิจกรรม ฝึกการเปรียบเทียบลักษณะ รูปร่าง คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ
2.2 ด้านการใช้เหตุผล ก่อนการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ6.27 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.20 แสดงว่าในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการใช้เหตุผลได้ ลักษณะของกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
 2.3 ด้านการสังเคราะห์ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.80 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.00 แสดงว่าในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการสังเคราะห์ได้ ลักษณะของกิจกรรมเด็กจะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ การเปลี่ยนแปลงระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และผลที่ได้จากการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2.4 ด้านการประเมินค่า ก่อนการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.73 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 แสดงว่าในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการประเมินค่าได้ ลักษณะของกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่เด็กได้คิดและตัดสินใจโดยเด็กจะสังเกตผลการทดลอง แล้วสรุปผลการทดลองที่ได้ตามความเข้าใจของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recorded Diary 15 Friday 23  November 2018 time 08.30 - 12.30 o'clock The knowled...